สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

หน่วยงานราชการมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาภาคบังคับ คลอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ในจังหวัดเลย ดังนี้

  1. อำเภอเมืองเลย
  2. อำเภอนาด้วง
  3. อำเภอเชียงคาน
  4. อำเภอปากชม
  5. อำเภอท่าลี่

ประวัติความเป็นมา

2547สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 (สพท.ลย.1) จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ลว.7 กรกฎาคม 2546 ตั้งอยู่ที่ ถนนพิพัฒนมงคล ต.กุดป่อง อ.เมืองเลย จ.เลย โดยมี ดร.เทวรัฐ โตไทยะ ดำรงตำแหน่ง ผอ.สพท.ลย.1 คนแรก
2551ปรับปรุงแก้ไขกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 โดยแบ่งพื้นที่เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 (สพท.ลย.1) ประกอบด้วย อ.เมืองเลย อ.นาด้วง อ.เชียงคาน อ.ปากชม และ อ.ท่าลี่ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 (สพท.ลย.3) ประกอบด้วย อ.ด่านซ้าย อ.ภูเรือ และ อ.นาแห้ว
2557ย้ายมาปฏิบัติงานที่สำนักงานแห่งใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ถนนเลย – เชียงคาน ต.เมือง อ.เมืองเลย จ.เลย 42000 อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 จนถึงปัจจุบัน

ตราสัญญาลักษณ์


ทิศทางการบริหารองค์กร

ปฏิญญาปฏิบัติธรรมนำความดี ยึดวิถีห้าห้องชีวิตพิชิตงาน สานความดีสากล สร้างคนคุณภาพ
วิสัยทัศน์สร้างคนคุณภาพ สู่วิถีใหม่ที่ยั่งยืน
พันธกิจ1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. จัดการศึกษาให้ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ได้รับความ
ปลอดภัย จากภัยพิบัติ ภัยคุกคามทุกรูปแบบเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่
3. พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมธรถนะตามหลักสูตรและ คุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
4. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถและมีความเป็นเลิศทางวิซาการ เพื่อสร้างขีด ความสามารถ ในการแข่งขัน
5. สร้างโอกาส ความเสมอกาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการ ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
6. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะด้านกาษา และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
7. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิครกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
8. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ทุกระดับระดับ และจัดการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
เป้าประสงค์1. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่น การปกครองระบอบประซาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย
2. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาสอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็น สำหรับอนาคค มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวางแผนในการศึกษาต่อเพื่อการมีงานทำ และสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ได้รับการดูแลความปลอดภัย จากภัยพิบัติและภัยคุกมทุรูปแบบ สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ ไรคอุบัติซ้ำ และรองรับวิกีชีวิตใหม่ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
4. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาครูให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เชื่อมโยงนโยบายด้านดิจิทัล ของระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์ตามบริบท
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีสมดุลในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ ใช้งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัดกรรมในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา
กลยุทธ์กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

ภารกิจ บทบาท และอำนาจหน้าที่

กฎกระทรวงศึกษาธิการ – กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ – การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. พ.ศ.2560
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ – การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. พ.ศ.2561 (ฉบับที่ 2)
ภารกิจ บทบาทและอำนาจหน้าที่

โครงสร้างองค์กร

Loading

แชร์เลยก้อ!